Recent Posts

สมุดรายวันทั่วไป

     สมุดรายวันทั่วไป 

  คือสมุดบัญชีขั้นต้น ที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทันที โดยบันทึกเรียงตามลำดับวันที่ที่เกิดรายการค้าขึ้น การบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นจะบันทึกโดยเดบิตบัญชีหนึ่งและเครดิตอีกบัญชีหนึ่งไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีคู่ พร้อมทั้งอธิบาย ลักษณะรายการค้าที่เกิดขึ้นให้ทราบโดยย่อ

ประโยชน์ของสมุดรายวันทั่วไป
1. แสดงการบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกรายการเรียงลำดับก่อนหลังตาม
วันที่ที่เกิดรายการนั้นๆ ซึ่งจะให้ประโยชน์ในการตรวจสอบรายการค้าย้อนหลังได้

2. เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ผ่านรายการไปบันทึกในสมุดบัญชีแยกประเภท ซึ่งจะให้
ประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีแยกประเภทได้
สะดวกและรวดเร็วขึ้น

3. ช่วยให้การค้นหาข้อผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกรายการผิดบัญชีได้รวดเร็ว
ขึ้น เนื่องจากมีการอธิบายลักษณะของรายการค้าที่บันทึกบัญชีไว้ ทำให้ตรวจ
สอบได้ว่าบันทึกบัญชีถูกต้องตามประเภทบัญชี ที่ควรบันทึกหรือไม่

ตัวอย่างสมุดรายวันทั่วไป



    หลักการบันทึกบัญชีที่มีหลักที่สำคัญก็คือ รายการค้าทุกรายการที่เกิดขึ้นเมื่อทำการวิเคราะห์แล้วจะต้องนำไปบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ คือ ด้านเดบิต กับด้านเครดิต

1. ด้านเดบิต (Debit) หรือมักจะใช้ตัวย่อว่า Dr คือด้านซ้ายของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเดบิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสาการบัญชีลดลง คือ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ การลดลงของหนี้สิน และการลดลงของส่วนของเจ้าของ

2. ด้านเครดิต (Credit) หรือมักจะใช้ตัวย่อว่า Cr คือด้านขวาของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเครดิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีลดลง คือ การลดลงของสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของ
หลักการบัญทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่
                          ด้านเดบิต                                                                              ด้านเครดิต
                     1. สินทรัพย์เพิ่ม                                                                        1. สินทรัพย์ลด
                     2. หนี้สินลด                                                                              2. หนี้สินเพิ่ม
                     3. ส่วนของเจ้าของลด                                                              3. ส่วนของเจ้าของเพิ่ม
                        - รายได้ลด                                                                                - รายได้เพิ่ม
                        - ค่าใช้จ่ายเพิ่ม                                                                         - ค่าใช้จ่ายลด          

ตัวอย่างเช่น
มุตาเปิดร้านตัดผม ในวันที่ 1 มกราคม 25xx ได้นำเงินสดจำนวน 80,000 บาท เงินฝากธนาคาร 50,000 บาท อุปกรณ์ 20,000 บาท อาคาร 900,000 บาท และเจ้าหนี้การค้า 40,000 บาท มาลงทุน

เดบิต  เงินสด                80,000
           เงินฝากธนาคาร  50,000
           อุปกรณ์               20,000
           อาคาร               900,000
      เครดิต  เจ้าหนี้การค้า           40,000
                   ทุน - มุตา           1,010,000


เปิดบัญชีซื้อขายฟอเร็กซ์จริง

Powered by Blogger.